วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555



คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

      คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆสามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่น คือ มีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผล
      ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
   คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งได้ 5 ส่วน ดังนี้
1. หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit) ทำหน้าที่ป้อนหน้าที่ป้อนสัญญาเข้าสู่ระบบ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard) 
- แผ่ยซีดี (CD - ROM)
- ไมโครโฟน (Microphone)
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)
   ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนาณทั้งทางตรรกยะ และคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่ง
3. หน่วยความจำ (Memory Unit)
   ทำหน้าที่เก็บข้อมูล หรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผล กลางและเก็บผลลัพธ์ ส่งไปยังหน่วยแสดงผล
4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
   ทำหน้าที่แสดงผลข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือผ่านการคำนวณแล้ว
5. อุปกรณต่อพวงอื่นๆ (Peripheral Equipment)
   เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพวงเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้นเช่น โมเด็ม (Modem)
     ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความรวดเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็ว
2. สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อหาที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องได้

         ระบบคอมพิวเตอร์
   หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตาม ประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียน เป็นต้น
   องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3. ข้อมูล (Data)
4. บุคคลากร (Peopleware)
   ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณณ์ต่างของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสัมผัสได้ มี 4 ส่วนคือ
1. ส่วนประมวลผล (Processor)
2. ส่วนความจำ (Memory)
3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input - Output Devices)
4. อุกรณ์ช่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)
    ส่วนที่ 1 CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์แวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล มีความรวดเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ
    ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ Memory จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 หน่วยความจำหลัก Main Memory
2.2 หน่วยความจำสำรอง Secondary Storage
    2.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
   เป็นหน่วยเก็บข้อมูล และคำสั่งต่างๆของคอมพิวเตอร์ สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งและสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผล ภายหลัง
    หน่วยความจำแรม (Ram = Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อเก็บรักษาข้อมูล ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง
   หน่วยคาวมจำรอม (Rom = Read Only Memory)
เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เป็นข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้วงจร หรือเรียกว่า "หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน" (Nonvolatille Memory)
    2.2 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
    หน้าที่หลัก
1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2. ใช้ในการเก็บโปรแกรมอย่างถาวร
3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปอีกคึ่งหนึ่ง
      ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
   หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ จะพบในรุปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ซีดี เป็นต้น
           
         ส่วนแสดงผลข้อมูล
   คือ ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น

        บุคคลากรคอมพิวเตอร์ (Peopleware)
   หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไป อย่างราบรื่นอาจจะมีคนเดียว หรือหลายคนรับผิดชอบโครงสร้างหน่วยงานคอมพิวเตอร์
        บุคคลากรหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้างานคอมพิวเตอร์ EDP Manger
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนรายงาน System Analyst หรือ SA
3. โปรแกรมเมอร์ Programer
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ Computer Operator
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล Data Entry Operator
   - นักวิเคราะห์รายงาน (นักการศึกษารายงานเดิม ออกแบบรายงานใหม่)
   - โปรแกรมเมอร์ (นักรายงานใหมาที่นักคิดวิเคราะห์รายงานออกแบบไว้เพื่อมาสร้างโปรแกรม)
   - วิศวกรระบบ (ทำหน้าที่ออกแบบสร้าง ซ่อมแซ่มปรับปรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ)
   - พนักงานปฏิบัติการ (ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภาระกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์) อาจแบ่งประเภท ได้ดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือผู้ที่ศึกษารายงานเดิม หรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programer) คือผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ User คือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่ต้อเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อและวิธีการใช้งานเขียนโปรแกรมเพื่อให้ โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น